อุบัติเหตุรถตู้ไฟไหม้ คร่าชีวิตผู้โดยสาร รัฐต้องเข้มมาตรการ

‘อุบัติเหตุรถตู้โดยสารไฟไหม้’ สัญญาณเตือนให้กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางบกต้องเร่งรัดกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย และทบทวนหลักเกณฑ์กำกับรถตู้ ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ไม่ให้หละหลวม

จากกรณีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารไม่ประจำทางเสียหลักพลิกคว่ำตกข้างทางริมถนนมิตรภาพ ชนแนวกั้นด้านข้างถนนไฟลุกท่วม ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 11 ราย และรอดชีวิต 1 รายนั้น

คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า อุบัติเหตุรถตู้โดยสารไม่ประจำทางในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุมากถึง 11 ราย ถือเป็นความสูญเสียจากรถตู้โดยสารที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุพบว่ารถตู้โดยสารคันเกิดเหตุจดทะเบียนเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง หมายเลขทะเบียน 30-0078 อำนาจเจริญ โดยรับผู้โดยสารจากจังหวัดอำนาจเจริญเข้ากรุงเทพมหานคร และเกิดอุบัติเหตุเสียหลักพุ่งตกร่องกลางถนนเพลิงลุกไหม้บริเวณถนนมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

“จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สภาผู้บริโภคเห็นว่ารัฐบาลยังไม่สามารถจัดบริการขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคได้ รวมถึงยังสะท้อนถึงมาตรการกำกับด้านขนส่งสาธารณะของรัฐที่ไม่สามารถควบคุมการใช้รถผิดประเภทในการรับส่งผู้โดยสารได้” คงศักดิ์ กล่าว

รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยประชาชน สภาผู้บริโภคจึงขอให้กระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบกต้องทำหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคที่ใช้บริการและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความสูญเสียในลักษณะนี้อีก ทั้งการทบทวนหลักเกณฑ์การกำกับความปลอดภัยรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง ทั้งในส่วนการให้บริการ มาตรฐานรถ ระยะทาง และอายุรถ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตลอดจนเกณฑ์การตรวจสภาพรถประจำปี รวมถึงขอให้กำหนดมาตรการเข้มงวดกับผู้ประกอบการขนส่งนอกระบบอย่างจริงจัง พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังรถโดยสารไม่ปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บริการรถโดยสารประจำทางทุกประเภทมีจำนวนลดน้อยลง ขณะที่มีรถตู้โดยสารทั้งประเภทส่วนบุคคลและไม่ประจำทางนำรถมาให้บริการรับส่งคนในรูปแบบที่ไม่ตรงตามที่จดทะเบียนไว้เพิ่มขึ้น

เช่น กรณีวิ่งรับผู้โดยสารเดินทางระหว่างจังหวัดในลักษณะเก็บค่าโดยสารเป็นรายบุคคล หรือกรณีการนำรถมาให้บริการรับส่งคนแบบประจำทาง ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นการใช้รถผิดประเภท หากเกิดอุบัติเหตุหรือความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน บริษัทประกันภัยอาจนำมาเป็นเงื่อนไขและปฏิเสธความรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการเดินทางเพิ่มมากขึ้น แต่รถโดยสารประจำทางกลับมีจำนวนลดน้อยลง ผู้บริโภคจึงต้องการทางเลือกในการเดินทาง การเข้ามาแทนที่ของรถตู้โดยสารนอกระบบจึงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากความไม่ปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างรถตู้โดยสารไม่เหมาะสำหรับการโดยสารระยะทางไกล และไม่ปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เช่น รถพลิกคว่ำไม่สามารถเปิดประตูรถได้

“แม้ปัจจุบันกฎหมายจะปรับลดจำนวนเบาะที่นั่งรถตู้โดยสารให้เหลือไม่เกิน 13 ที่นั่ง และมีการควบคุมความเร็วด้วย GPS รวมถึงยังมีการควบคุมระยะเวลาเพื่อให้คนขับได้หยุดพักทุกสี่ชั่วโมงแล้วก็ตาม แต่ยังมีคำถามจากสังคมว่ามาตรการเหล่านี้เพียงพอแล้วหรือไม่ เพราะยังมีอุบัติเหตุรถตู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีประเด็นระยะทางที่ในส่วนของรถตู้โดยสารประจำทางกฎหมายยังบังคับให้วิ่งได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร แต่รถตู้โดยสารไม่ประจำทางและรถตู้ส่วนบุคคลนั้นสามารถวิ่งในระยะทางไกลกว่าได้ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ขับรถตู้โดยสารได้” ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุ

ทั้งนี้ จากข้อมูลการจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พบว่า อัตราการจดทะเบียนของรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทางลดลงอย่างต่อเนื่อง 3 ปีหลังสุด โดยทั่วประเทศมีรถตู้โดยสารประจำทางจำนวน 8,859 คัน และกลุ่มรถตู้โดยสารไม่ประจำทางจำนวน 22,787 คัน สวนทางกับรถตู้ส่วนบุคคล (รย.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีรถที่จดทะเบียนสะสมจำนวน 445,862 คัน ซึ่งจำนวนรถตู้จดทะเบียนสะสมที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารทั้งแบบประจำทางและไม่ป

ร้องทุกข์ - ร้องเรียน