ธปท. จ่อคุม “แคมเปญสินเชื่อ” แก้หนี้ครัวเรือน

แบงก์ชาติจ่อออกเกณฑ์คุมแบงก์ไตรมาส1ปี 2566 ห้ามออก “แคมเปญสินเชื่อ”กระตุ้นคนก่อหนี้ฟุ่มเฟือย หวังแก้หนี้ครัวเรือนกลับสู่ระดับที่ยั่งยืน เดินหน้าดันเศรษฐกิจ“Smooth Takeoff” พร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปดึงเงินเฟ้อ

นายเศรษฐพุฒิ  สุทธิวาทนฤพุฒิ  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ด้วยบริบทของเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงกำลังฟื้นและฟื้นตัวช้าตั้งแต่ปลายปีนี้ต่อเนื่องไปปีหน้า โจทย์ของธปท. จึงให้น้ำหนักกับการดูแลปัจจัยต่างๆที่จะทำให้ฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่สะดุด ตั้งแต่เรื่องอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับแม้จะเป็นเรื่องยากที่จะคุมเงินเฟ้อแต่การดำเนินนโยบายการเงิน  

นอกจากทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจแล้วขณะเดียวกันได้ปรับมาตรการเฉพาะเจาะจงในการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางรวมทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง  แม้ว่าจะปรับลงมาอยู่ในระดับ 88-89% ต่อจีดีพี และจากที่เคยพีคไปถึง 90% ช่วงโควิด-19 โดยหนี้ครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้นถึง 10%ในช่วงโควิด

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากระดับที่เหมาะสมกับความยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานสากลของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ( BIS) หนี้ครัวเรือนไม่ควรเกิน80%ของจีดีพี

 

“ ถ้าต้องการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้กลับสู่ระดับที่ยั่งยืน จึงต้องทำให้ถูกหลัการคือ ดูตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อที่ไม่สร้างแรงจูงใจที่ผิดเพี้ยน ไม่สร้างMoral Hazard ไม่ทอดแหเพราะจะทำให้ขาดประสิทธิภาพ หรือไม่ควรผลักภาระหนี้ไปในอนาคต เพราะดอกเบี้ยและเงินต้นยังคงวิ่งอยู่ และการแก้หนี้ไม่ควรนำไปสู่คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน โดยย้ำว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่กับเรามายาวนานจึงไม่มียาวิเศษไม่เร็วใช้เวลาแต่รอด อย่างช่วงโควิดธปท.ออกมาตรการ(3ก.ย.64)ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้สอดคล้องความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งหากไม่มีมาตรการลักษณะนี้ออกมาโอกาสที่เศรษฐกิจจะสะดุดก็มีความเป็นไปได้สูง”

นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนตอนนี้อยู่ที่ระดับสูง 88% ต่อจีดีพี แต่พบกว่าคนที่มีภาระหนี้ยังกระจุกตัว เป็นคนที่มีรายได้น้อยและเป็นคนใช้แรงงานซึ่งรายได้ลดในช่วงโควิดจากการถูกเลิกจ้างจากที่บริษัทต้องปิดกิจการ รวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย จึงต้องใช้มาตรการที่เฉพาะเจาะจงในช่วงนี้

นายรณดล  นุ่มนนท์  รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การลดหนี้ปัจจุบันที่อาจเป็นหนี้มาก่อนโควิด-19 ซึ่งธปท.ดูแลมาอย่างต่อเนื่อง  วันนี้เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ขณะเดียวกันยังมีลูกหนี้กลุ่มที่เปราะบางและผลิตภัณฑ์ที่มีตอบโจทย์ได้ไม่ครบถ้วน

จึงขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินจะต้องมีความรับผิดชอบกับลูกหนี้ในหลายมิติ  ที่สำคัญคือการไม่ให้สถาบันการเงิน ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเรื่องของการโฆษณาแคมเปญต่างๆที่ไม่ไปกระตุกพฤติกรรมของลูกหนี้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับลูกหนี้โดยจะออกเกณฑ์กำกับเฟสแรกไตรมาส1ปี2565 ขณะเดียวกันเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อควรให้น้ำหนักกับเงินที่เหลือในการดำรงชีพ นอกจากดูความสามารถในการชำระหนี้แล้ว

 

อนึ่งธปท.รายงานยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 14.76 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2/2565 แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าเศรษฐกิจแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ปรับตัวลงมาที่ระดับ 88.2% จากระดับ 89.2% ต่อจีดีพีในไตรมาส 1/2565

 

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หนี้ครัวเรือนเติบโตเพียง 3.5% YoY ซึ่งต่ำสุดในรอบ 18 ปี  และชะลอลงเมื่อเทียบกับ 3.7% YoY ในไตรมาสแรกของปี 2565  สำหรับแนวโน้มในปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับทบทวนตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ลงมาที่กรอบ 85.0-87.0%

ร้องทุกข์ - ร้องเรียน