เวทีสภาผู้บริโภครถโดยสารสาธารณะจ.สงขลา “ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดสงขลาที่ทุกคนอยากเห็น…พื้นที่นำร่อง เขตเทศบาลนครหาดใหญ่”
..
วันนี้ (23-03-65) สมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา ได้จัดเวทีสภาผู้บริโภคฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของสมาคมผู้บริโภคสงขลา ร่วมกับสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอ.FM. 88 MHz
>>>เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยของคนสงขลา ในการแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ทัศนะต่อการพัฒนาเมืองโดยระบบขนส่งมวลชนและการใช้บริการรถสาธารณะในเมืองหาดใหญ่จากทุกภาคส่วน นำเสนอข้อมูลผลการสำรวจสถานการณ์การใช้บริการรถสาธารณะ และร่วมกันวิเคราะห์เพื่อระดมความคิดเห็นในประเด็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหาดใหญ่ที่ทุกคนอยากเห็น โดยมีเครือข่ายผู้บริโภคเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยน จากวิทยากรที่แลกเปลี่ยนให้ข้อมูล จากภาคี องค์กรต่างๆ เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ , โครงการหาดใหญ่เมืองสำหรับทุกคน,เครือข่าย smart growth Thailand,นักกิจกรรม ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา,สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย,สมาคมการผังเมืองไทย เลขานุการกฎบัตรไทย,กลุ่ม Songkhla Urban Lab. กลุ่มที่รวมตัวกันมาทดลองทำงานเพื่อพัฒนาเมืองหาดใหญ่,สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล, สถานีวิทยุมอ.FM88.Mhz
>>>มีประเด็นในการนำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอนโยบายดังนี้ ข้อเสนอดังนี้
1. การพัฒนาระบบข้อมูลที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง
2. การประสานความร่วมมือเพื่อบูรณาการการพัฒนาระบบขนส่ง
3. การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
4. การออกแบบเมือง
5. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
>>>ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบขนส่งมวลชนจังหวัดสงขลาที่เราอยากเห็น…
พื้นที่นำร่อง เขตเทศบาลนครหาดใหญ่
1. เทศบาลต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ออกแบบระบบการขนส่งมวลชน โดยให้มีการปรับผังเมือง ให้ทุกเส้นทางมีระบบการเชื่อมโยงกับผู้ใช้บริการทุกวักลุ่มวัย เพื่อส่งเสริมให้เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองอัจฉริยะ เป็น Smart City ที่ยกระดับเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมาย เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสร้างข้อตกลงร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย
2. เทศบาลมีการกำหนดพื้นที่นำร่อง เพื่อช่วยเพิ่มความชัดเจนและเข้าใจสภาพปัญหาระบบขนส่งมวลชนในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ มีการรวบรวมข้อมูลได้โดยละเอียดและสามารถเห็นถึงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วด้วยการจัดทำเวทีสาธารณะให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำไปสู่การปรับระบบขนส่งมวลชนที่เป็นรูปธรรม
3. เทศบาลมีการออกแบบแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบขนส่งสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ มีข้อมูลเส้นทางการเดินรถ ตำแหน่งของรถและการกำหนดราคาที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงการประหยัด ใช้จ่ายงบประมาณให้คุ้มค่าและตอบสนองกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
4. รัฐมีการอุดหนุนส่วนต่างในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนโดยลดต้นทุนบางส่วนลงได้ และผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการข