กินเยลลี่เหลวหวังลดน้ำหนักระวังอาจได้น้ำตาลแทน แถมโรคอ้วน

ภาพประกอบข่าวภาพประกอบข่าวภาพประกอบข่าวภาพประกอบข่าว

“ฉลาดซื้อ” เตือนบริโภคเยลลี่เหลวหวังลดน้ำหนักระวังอาจได้น้ำตาลแทน แถมโรคอ้วน ตามด้วยอาการแพ้ต่อสารที่เป็นส่วนผสมบางชนิด กินติดต่อกันเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดมะเร็งระบบทางเดินอาหาร และ ลำไส้อักเสบ**

ในบรรดาสารพัดเยลลี่เหลวบรรจุถุงพร้อมดื่มที่ขายตามท้องตลาดมีหลายสูตร-หลายรสชาติ ทั้ง เยลลี่ผสมคาราจีแนน , เยลลี่คาราจีแนนผสมบุก , วุ้นสำเร็จรูปคาราจีแนน , รวมถึง วุ้นสำเร็จรูปคาราจีแนนแบบผสมบุกผง เลือกกันแทบไม่ถูกเลยทีเดียว ซึ่งบรรดาผู้ผลิตแข่งกันสรรหากลยุทธ์จูงใจลูกค้าด้วยการโหมโฆษณาสรรพคุณ ด้วยการชูจุดขายด้านสุขภาพและความงาม เน้นสูตรน้ำตาลน้อย แคลอรีต่ำ ผสมวิตามิน คอลลาเจน ไฟเบอร์ รวมถึงสารอาหารอื่นๆ ที่สำคัญมีผู้ผลิตบางเจ้าเน้นโฆษณาด้วยถ้อยคำชวนเชื่อที่ว่า ช่วยลดน้ำหนัก จึงทำให้ผู้บริโภคบางรายซื้อมากินแทนอาหารมื้อหลัก แต่จะมีใครรู้บ้างว่า แท้จริงแล้ว ส่วนผสมในเยลลี่เหลวบรรจุถุงพร้อมดื่ม มีส่วนผสมที่ไม่เป็นไปตามโฆษณาชวนเชื่อ

วันนี้ 27 มกราคม 2566 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ภายใต้โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สสส. ได้สุ่มเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม จำนวน 22 ตัวอย่าง รวม 6 ยี่ห้อ ที่วางขายในร้านสะดวกซื้อ เมื่อเดือนตุลาคม 2565 โดยนำมาสำรวจ ” ฉลากแสดงส่วนประกอบและฉลากโภชนาการ” เจอสัดส่วนของปริมาณน้ำผลไม้ มากที่สุดถึง 30 เปอร์เซนต์ ส่วนใหญ่ เป็น น้ำองุ่นขาวชนิดเข้มข้น ถือเป็นน้ำผลไม้ยอดนิยมที่ผลิตนำใช้เป็นส่วนประกอบมากที่สุด พบถึง 17 ตัวอย่าง สารอีกชนิดที่พบถึง 18 ตัวอย่าง นั่นคือ วัตถุกันเสีย ตามมาด้วย สารให้ความหวานแทนน้ำตาล 19 ตัวอย่าง

แล้วก็มาถึงสรรพคุณที่ผู้ผลิตต่างพากันโฆษณาชูจุดขายการลดความอ้วน แต่จากการที่นิตยสารฉลาดซื้อ สำรวจฉลากโภชนาการ (ปริมาณต่อ 1 หน่วยบริโภค) พบว่า เยลลี่เหลวบรรจุ 1 ถุง ที่มีพลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีถึง 5 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังพบ ส่วนผสมของน้ำตาลมากที่สุดถึง 14 กรัม และตัวอย่างที่มี โซเดียมมากที่สุด คือ 75 มิลลิกรัม

ดังนั้น เมื่อผู้บริโภค ได้รับรู้ถึงส่วนผสมต่างๆ ในเยลลี่เหลวบรรจุถุงพร้อมดื่ม ที่อาจกระทบต่อสุขภาพ จึงต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทนี้มากินอย่างระมัดระวัง เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าไม่ใช่ อาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก อย่างแน่นอน แถมยังทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น หากบริโภคแทนมื้ออาหารหลัก

หากผู้บริโภค ดื่มเยลลี่แล้วมีอาการปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน ให้สันนิษฐานว่า กระเพาะอาหารอาจไวต่อคาราจีแนน ทั้งนี้ จากผลศึกษาเปรียบเทียบ 45 รายการ โดย ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพสหรัฐ (National Center for Biotechnology Information: NCBI) เมื่อปี 2001 สรุปว่า การกินคาราจีแนนติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อมะเร็งระบบทางเดินอาหารและ ลำไส้อักเสบ ส่วน ผู้บริโภคที่แพ้ปลา ควรหลีกเลี่ยงเยลลี่พร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของคอลลาเจนจากปลา ( สามารถอ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/4165/ )

อีกประเด็นที่สำคัญ ที่ผู้บริโภคอาจคาดไม่ถึง นั่นคือ อาการแพ้ต่อสารที่ชนิดต่างๆ ที่เป็นส่วนผสม โดยเฉพาะผู้ที่เป็น “โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ( Phenylketonuria ) ซึ่งเป็น โรคทางพันธุกรรมมีการถ่ายทอดยีนด้อยเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หากไปกินผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม “ฟินิลอลานีน” (Phenylalanine ) จะทำให้ร่างกายเกิดความดันโลหิตสูง

ร้องทุกข์ - ร้องเรียน