ถึงเวลาหรือยังที่จะให้สิทธิประกันสังคมในการรักษาทันตกรรม – โรคมะเร็ง เท่าเทียมสิทธิจากกองทุนอื่นๆ สภาผู้บริโภค เสนอให้มีการรักษาทันตกรรม – โรคมะเร็ง ไม่จำกัดวงเงิน พร้อมชวนผู้ประกันตนทุกมาตราทำแบ.บสอบถามเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
จากกรณีที่สำนักงานประกันสังองปากที่จำเป็นหรือประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับช่องปาก ซึ่งถือเป็นการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่ง ที่สามารถเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากผู้ประกันตนจำเป็นต้องเข้ารับบริการทันตกรรมกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลสามารถเข้ารับการรักษาได้ในสถานพยาบาลตามสิทธิของตนเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ใช้สิทธิประกันสังคมเห็นว่า สิทธิการรักษาของประกันสังคมด้อยกว่าสิทธิในระบบประกันสุขภาพอื่น ๆ
วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2567) สมชาย กระจ่างแสง อนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาผู้บริโภค ยืนยันว่าผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมน้อยกว่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) และระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ (สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการฯ) อย่างชัดเจน และที่สำคัญ คือ ผู้ประกันตนยังเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบด้านบริการสุขภาพ โดยมีสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสุขภาพในช่องปากในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปีเท่านั้น ขณะที่สิทธิประโยชน์สิทธิบัตรทองและสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการฯ มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบภาษีของประเทศและไม่มีการจำกัดวงเงิน ไม่ว่าจะเป็นการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด
“การจำกัดสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายภายใต้วงเงิน 900 บาทต่อปีของผู้ประกันตน ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและอาจทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลไม่เต็มที่และจำเป็นต้องจ่ายสมทบเอง ซึ่งทำให้ผู้ประกันไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องจ่ายถึง 3 ครั้ง คือ จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนในส่วนบริการสุขภาพ จ่ายผ่านระบบภาษีของประเทศ และจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมเองในกรณีที่สิทธิประโยชน์แตกต่างจากระบบอื่น ๆ แต่สิ่งที่ผู้ประกันตนได้รับคือสิทธิประโยชน์ที่ด้อยกว่าสิทธิบัตรทองและสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการฯ” สมชาย ระบุ
สมชาย กล่าวอีกว่า จากการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมพื้นฐานของผู้ประกันตน ระหว่าง 3 กองทุน พบว่า สิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมยังด้อยกว่าอีก 2 กองทุน นอกจากนี้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับยังไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายให้กับหน่วยบริการ เนื่องจากราคาบริการทันตกรรมในคลินิกเอกชนมีราคาที่แตกต่าง จากการสำรวจราคาค่าบริการทันตกรรมในคลินิกเอกชน กรณีการถอนฟันราคา 800 – 1,500 บาทต่อซี่, ขูดหินปูนราคา 800 – 900 บาทต่อครั้ง, ผ่าฟันคุด 2,500 – 4,500 บาทต่อซี่ จึงอาจสรุปได้ว่า ผู้ประกันตนสามารถถอนฟันได้เพียง 1 ซี่ต่อปี หรือขูดหินปูนได้เพียง 1 ครั้ง ต่อปี ขณะที่การผ่าฟันคุดต้องจ่ายเพิ่มทุกกรณี รวมถึงการเข้ารับการขูดหินปูนที่ทันตแพทย์แนะนำ คือ ปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน แต่เวลาที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการขูดหินปูนไป
จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น คณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพของสภาผู้บริโภคจึงได้มีการผลักดันและขับเคลื่อนด้านทันตกรรมในระบบประกันสังคมให้ทัดเทียมกับสิทธิบัตรทอง โดยได้ส่งข้อเสนอถึงสำนักงานประกันสังคมที่ต้องทำให้เกิดกลไกและปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกับ 2 กองทุนสุขภาพโดยทันที รวมทั้งขอให้ยกเลิกเพดานค่าใช้จ่ายด้านทันตกรรม 900 ต่อปี เป็นไม่จำกัดวงเงิน และหากไม่สามารถดำเนินการได้ขอให้มีการจัดสรรเงิน 900 บาทต่อหัวของผู้ประกันตนให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้จัดบริการทันตกรรมให้กับผู้ประกันตนแทน พร้อมทั้งเร่งปรับปรุงสิทธิประโยชน์การรักษาโรคมะเร็งของผู้ประกันตนร่วมด้วย อย่างไรก็ดี หากสำนักงานประกันสังคมสามารถปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมได้แบบไม่จำกัดวงเงินทุกอย่างตามที่สำนักประกันสังคมชี้แจงนั้นเป็นเรื่องที่ดีซึ่งช่วยยกระดับสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมของกลุ่มผู้ประกันตนให้ทัดเทียมกับระบบสุขภาพอื่นได้
สำหรับข้อเสนอของสภาผู้บริโภคเพื่อผลักดันให้สิทธิประกันสังคมทัดเทียมสิทธิอื่น ๆ มีทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
1. ขอให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมของผู้ประกันตน เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค กรณีสิทธิรักษาพยาบาลสุขภาพในช่องปากให้เทียบเท่ากับสิทธิหลักประกันสุขแห่งชาติอย่างเร่งด่วน โดยเบิกจ่ายตามอัตราที่จ่ายในการรักษาจริง (Fee for Service) แทนการกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราไม่เกินเก้าร้อยบาทต่อปี
2. ขอให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาโรคมะเร็งและกรณีอื่น ๆ ให้เทียบเท่ากับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างเร่งด่วน โดยเบิกจ่ายตามอัตราที่จ่ายในการรักษาจริง แทนการกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี
3. ขอให้ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ตามมาตรา 5 และมาตรา 11 ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไม่สามารถขยายสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรม และด้านการรักษาโรคมะเร็งให้แก่ผู้ประกันตนได้ด้วยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้สิทธิกับผู้ประกันตน
ทั้งนี้ สภาผู้บริโภคอยู่ระหว่างการจัดทำแบบสำรวจ เรื่อง การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมด้านทันตกรรม และการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อรวบรวมข้อมูลว่าสิทธิประโยชน์ประกันสังคมด้านทันตกรรม และด้านการรักษาโรคมะเร็งว่าเพียงพอและครอบคลุมต่อความต้องการของกลุ่มผู้ประกันตนหรือไม่ รวมทั้งประเด็นข้อคิดเห็นเรื่อง การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในด้านบริการสุขภาพ เพื่อนำไปสรุปผลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผู้ประกันตนทุกคนในมาตราต่าง ๆ สามารถร่วมทำแบบสำรวจได้ที่กูเกิ้ลฟอร์ม (Google Form) ที่ลิงก์ https://forms.gle/mE45dPv8UHvJVNUi7 หรือสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด (Qr Code) ได้ที่