เครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส
Consumer Network of Narathiwat
ความเป็นมา
ปี พ.ศ.2553 – 2555 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ได้เข้ามาเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อ การรักษาพยาบาลและสิทธิในการรับบริการในสถานพยาลของรัฐแก่กลุ่มเครือข่ายสตรี ต่อมาเครือข่ายสตรีในแต่ละชุมชนได้รวมตัวจัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายสตรีระดับจังหวัดเพื่อสะดวกต่อการติดต่อหารือและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการยื่นข้อเสนอความช่วยเหลือและอื่นๆจากประชาชน
ปี พ.ศ.2557 หน่วยงานหลักประกันสุขภาพได้เชิญทีมงานเครือข่ายเข้าอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในสิทธิต่างๆและจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และด้วยเหตุที่ประชาชนในเขตพื้นทีจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงสิทธิดังกล่าวเครือข่ายจึงเสนออาสาทำงานเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินการเผยแพร่รณรงค์สิทธิและการรับเรื่องร้องเรียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เบื้องต้นทำให้ประชาชนในบางระดับสามารถเข้าถึงสิทธิและเข้ามาร้องเรียนผ่านเครือข่ายในพื้นที่บ้าง ที่ศูนย์บ้างต่อมาทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดนราธิวาสเพื่อช่วยการเผยเเพร่สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนต่อระบบหลักประกันสุขภาพและเป็นช่องทางหนึ่งในการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ต่อมาศูนย์ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในหลายประเด็นเรื่องทั้งเรื่องสอบถามข้อมูลในสิทธิ์บ้าง ขอความช่วยเหลือดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้พิการและผู้สูงอายุ การที่ไม่ได้รับสิทธิเท่าทีควรได้รับ การเรียกเก็บเงินและการได้รับความเสียกายจากการรักษาพยาบาล
ปลายปี พ.ศ.2558 ศูนย์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระฯตามมาตรา50(5)
ปี พ.ศ. 2559 ศูนย์ได้ร่วมงานกับเครือข่ายอื่นๆเช่นเครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายยุติธรรมชุมชน เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้พิการ เครือข่าย บัณฑิตแรงงาน เครือข่าย อสม.ในพื้นที่เพื่อขยายงานประชาสัมพันธ์ระดับในพื้นที่และเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดเก็บข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียน ต่อมาในได้เข้าร่วมเป็นองค์กรระดับจังหวัดดำเนินงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทั้งได้ขยายองค์กรระดับอำเภอเพิ่มอีก4 องค์กรได้แก่ อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอจะแนะ ภายใต้ชื่อศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพระดับจังหวัดและอำเภอ
ปี 2560 ศูนย์สามารถรับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 27 เรื่องประกอบด้วยเรื่องสอบถาม ร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ ไม่มีมาตรฐานในการรักษา การส่งต่อ เรียกเก็บเงินและเรื่องได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ประเด็นอาหารยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเด็นการเก็บเงินค่าไฟเกิน ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
“ นราธิวาสร่วมใจ พัฒนาก้าวไกล ใส่ใจ พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงสิทธิด้านการรับบริการสาธารณสุข
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภคและบริการสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
4. เพื่อขับเคลื่อนผลักดันข้อเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
พันธกิจ
1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงสิทธิ์
2. รับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและประสานงานส่งต่อแก้ไขปัญหาประชาชนในพื้นที่
3. ติดตามและผลักดันข้อเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ค่านิยมร่วม
“ สามัคคี เสมอภาค ทำงานเป็นทีม ”
วัฒนธรรมองค์กร
“ เครือข่ายรวมเป็นหนึ่ง ”
นโยบาย
สร้างความรู้ความเข้าใจ พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค รับฟังความคิดเห็น ผลักดันนโยบายสู่รัฐ
คำขวัญ
“ ร่วมมือร่วมใจนำองค์กรก้าวไกล ”
รายชื่อคณะกรรมการ/ตำแหน่ง
1. นางสิริภา มะดากะกุล ประธาน
2. นางมิรันตี แมเร๊าะ รองประธาน
3. เรือตรีศิริ เกตุติ่ง รองประธาน
4. นายโรสลี บือราเฮง เหรัญญิก
5. นางสาวมากรือซง สาแม เลขานุการ/รับเรื่องร้องเรียน
6. นางสาวชุติมา ล่านุ้ย นายทะเบียน
7. นางนอระมา จิยี่งอ กรรมการ
8. นายนครินทร์ สาและ กรรมการ
9. นางรอปีอ๊ะ มะสาแม กรรมการ
10. นางดรุณี นาดี กรรมการ
รายชื่อแกนนำอาสาสมัครเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค/เบอร์โทร
1. เครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส
นางสิริภา มะดากะกุล 087-2886928
2. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอเมืองนราธิวาส
นางรอปีอ๊ะ มะสาแม 098-0685987
3. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอรือเสาะ
นางสาวมากรือซง สาแม 0936594223
4. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอบาเจาะ
นางมิรันตี แมเร๊าะ 082-6213093
5. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอสุไหงโกลก
นางสาวชุติมา ล่านุ้ย 061-1344916
6. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอจะแนะ
นายรอสดี เจ๊ะมูดอ 098-5933927
7. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอแว้ง
นายแวยูโซ๊ะ แวมะ 087-1973749
8. เครือข่ายผู้บริโภคอำเภอสุคิริน
นางดรุณี นาดี 084-8616552
บทบาทภารกิจ
เครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส เป็นกลไกสำคัญในการทำงานด้านการคุ้มครองแก้ไขปัญหาผู้บริโภค 8 ด้าน ดังต่อไปนี้
• ด้านการเงินการธนาคาร: ทำงานเชื่อมโยงกับธนาคารแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้
• ด้านการขนส่งและยานพาหนะ: ทำงานเชื่อมโยงกับสำนักงานขนส่งจังหวัด และ ปภ.จังหวัดนราธิวาส
• ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย: ทำงานเชื่อมโยงกับ สคบ.จังหวัดนราธิวาส
• ด้านอาหารยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ: ทำงานเชื่อมโยงกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
• ด้านบริการด้านสุขภาพ: ทำงานเชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12 สงขลา
• ด้านสินค้าหรือบริการทั่วไป : ทำงานเชื่อมโยงกับสคบ.จังหวัดนราธิวาส และคปภ.จังหวัดนราธิวาส
• ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ: ทำงานเชื่อมโยงกับสำนักงาน กสทช.
• ด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม: กรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ไฟฟ้า ประปา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
รูปแบบการขับเคลื่อนงาน
1. ด้านการทำงานหนุนเสริมเครือข่าย : มีการสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับองค์กรเครือข่ายผู้บริโภคในจังหวัดนราธิวาส
2. ด้านการประสานงานการจัดการปัญหารับเรื่องร้องเรียนและผลักดันงานนโยบาย : ทำงานประสานงานรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภครวมทั้งการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่
3. ด้านงานวิชาการและข้อมูลสารสนเทศ : ทำงานเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา/นักวิชาการเพื่อเชื่อมโยงงานข้อมูลวิชาการในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส
4. ด้านการเผยแพร่รณรงค์และสื่อสารสาธารณะ : มีการสื่อสารผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น และสื่อโซเชียลมีเดีย ผ่านช่องทาง Facebook:เพจเครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส กลุ่มไลน์
ข้อมูลการติดต่อ
เพจเครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส
087-2886968 093-6594223
86 ม.3 ต.ยี่งอ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 96180
Email.makrusok@gmail.com
Facebook : เครือข่ายผู้บริโภคนราธิวาส